30 April 2013

การเลือกภาชนะเก็บใบชา

การเลือกภาชนะเก็บใบชา 

                                        โดย จงรักษ์ กิตติวรการ (ตี่)

ภาชนะเก็บใบชา ถ้าเป็นภาชนะกลวงมีฝาปิด ภาษาไทยมีคำเฉพาะเรียกว่าถ้ำชา ถ้ำชาดั้งเดิมในจีน มักทำจากดีบุก ส่วนของญี่ปุ่นมักใช้ถ้ำชาดินเผาปัจจุบันมีวัสดุมากมายหลายอย่าง ตั้งแต่พลาสติก ไม้ ดินเผา โลหะ หิน แก้ว :ภาพถ้ำชาหาค้นดูได้โดยใช้คำ茶筒หรือ  茶叶罐

ถ้ำชากระเบื้อง หรือดินเผามักจะสวยงามแต่ปิดได้ไม่สนิทนัก 


ถ้ำชาพลาสติก ทางซ้ายเป็นแบบญี่ปุ่นที่มีฝาสองชั้น ญี่ปุ่นมักใช้เก็บชาเขียวญี่ปุ่นแต่ไม่ใช้เก็บชาป่นมัตฉะ  ส่วนทางขวาเป็นแบบมีวาว์ลอากาศ(สีชมพู) เมื่อปิดฝาจะปล่อยอากาศไหลออกวาล์วอากาศนี้ ทำให้ปิดผนึกสนิทโดยอากาศไม่เข้า  วัสดุพลาสติกที่ใช้มักเปราะ ตกแตกมีอายุการใช้งานที่จำกัด การเลือกถ้ำชาพลาสติกควรสำรวจให้แน่ใจว่าไม่มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์

ถ้ำชาโลหะ โบราณมักทำด้วยดีบุก เพราะเนื้อโลหะที่ค่อนข้างนิ่มขึ้นรูปฝาถ้ำให้แนบสนิทกับตัวถ้ำได้ง่าย ถ้าช่างฝีมือดีถึงขนาด ถ้ำชาจะปิดฝาได้สนิทอย่างอากาศไม่เข้าข้อเสียคือเราไม่อาจรู้ได้ว่าวัสดุโลหะที่ใช้ทำถ้ำนั้นเจือด้วยโลหะหนักที่เป็นพิษหรือไม่ กับน้ำหนักมาก พกพาไปไหนไม่สะดวก


พวกที่ทำจากแก้ว แข็งแรงทนทานดี มีน้ำหนักพอสมควรเหมาะที่จะใช้เก็บชาไว้กับที่ มากกว่าจะอุ้มไปไหนมาไหน แต่โปรงใส่ไม่กันแสงซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหามากนัก แก้ได้โดยเก็บในที่ไม่ถูกแสง
ที่ว่ามาทั้งหมดนี้ก็เพราะ ต้องการโฆษณาขายถ้ำชาร้านดับเบิ้ลด๊อกส์ ตัวถ้ำเป็นแก้วใสมีความแข็งแรง หากไม่ทำตกแตกเสียก่อน ปากภาชนะกว้างตักถ่ายใบชาได้ง่าย ขนาดใหญ่พอที่จะบรรจุชาใบได้หนึ่งขีดซึ่งถ้ำชาโดยทั่วไปมักมีขนาดเล็กกว่านี้ ไม่ใหญ่พอที่จะบรรจุใบชาที่ซื้อมา  ฝาถ้ำทำด้วยพลาสติกสำหรับบรรจุอาหาร ไม่มีกลิ่น ใต้ฝามีวงแหวนซิลิโคนช่วยยึดฝาให้สนิทกับตัวถ้ำตัวฝามีวาล์วอากาศ(สีส้ม) วิธีใช้ คือ ในระหว่างจะเปิดจะปิดฝาให้เปิดวาล์วปล่อยอากาศไหลเข้าออกได้ เมื่อปิดฝาแล้ว ให้ปิดวาล์วนี้ อากาศไม่สามารถไหลเข้าภายในถ้ำฝาจะถูกล๊อคยึดติดแน่นกับตัวถ้ำ พกพาไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องกังวลว่าฝาจะปิดโดยไม่ตั้งใจถ้ำชาแก้วนี้มีจำหน่ายที่ร้านดับเบิ้ลด๊อกส์


No comments:

Post a Comment