เลือกป้านชามาไว้ใช้ชงชา
โดย จงรักษ์ กิตติวรการ(ตี่)
โดย จงรักษ์ กิตติวรการ(ตี่)
ช่วงนี้มีเพื่อนๆซื้อหาป้านกันเยอะ จึงขอถือโอกาสเขียนเรื่องการเลือกป้านเอาไว้เป็นแนวทางในการซื้อหาป้านสำหรับชงชา ขีดเส้นใต้สองเส้นใต้คำ “สำหรับชงชา” สำหรับท่านที่มีจุดประสงค์ในการซื้อหาป้านที่ไม่ใช่เพื่อชงชาคงจะมีแนวและข้อแนะนำในการซื้อหาต่างออกไป
หมายเหตุไว้เล็กน้อยว่า เขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ของตัวเองเอาเท่าที่นึกออก อาจจะไม่รอบคอบ ตกหล่นบ้าง ก็ขอให้ช่วยท้วงติงเผื่อจะได้รวบรวมให้เป็นหลักเป็นฐานต่อไป
๑) รูปทรง
ว่ากันเรื่องรูปทรงก่อนรูปทรงเป็นภาพลักษณ์ภายนอกของป้าน ซึ่งเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจมากที่สุด โดยทั่วไปก็ลองกวาดตาหาป้านที่มีรูปต้องตาทรงต้องใจก่อนจริงๆมันจะเป็นทรงอะไรก็ได้ไม่ขัดข้อง เมื่อหาได้แล้วให้มองหาปาก ปากของป้านคือรูเปิดที่มีฝาของป้านปิดครอบไว้นั่นเอง ปากของป้านควรกว้างเข้าไว้ จะใส่ใบชาได้ง่ายและแตะกากชาออกได้คล่อง
เมื่อเจอปากของป้านแล้วให้ใช้นิ้วควานเข้าไปในป้านนิ้วของผู้ใช้ควรเข้าถึงได้ทุกซอกมุมเพื่อความสะดวกในการทำความสะอาด ป้านที่ลึกมากจนนิ้วแตะไม่ถึงก้นป้านรูปทรงแฟนซีมากๆ มีปากป้านที่แคบหรือมีร่องหลืบภายในมากๆที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ถ้าจะซื้อต้องคิดก่อนว่าจะเอากากชาที่ก้นป้านออกได้อย่างไร ถ้าตอบได้ก็ซื้อไว้ใช้ได้ไม่มีข้อขัดข้อง
๒) ขนาด
การเลือกขนาดของป้านมีข้อน่าคิดหลักๆ๓ ข้อ คือ จำนวนคนที่จะดื่ม ปริมาณน้ำชาที่จะดื่ม และราคาใบชา
การชงชาในป้านดินโดยพื้นฐานแล้วจะเลือกใช้ป้านดิน กับจอกชากระเบื้องเนื้อบางสีขาวการวัดขนาดอย่างง่ายๆวัดโดยความจุของป้านเป็นจำนวนจอกโดยเอาน้ำใส่จนเต็มป้านแล้วเทใส่จอกจนเต็ม เทได้กี่จอก ก็คือขนาดของป้านนั่นเองถ้าดื่มกัน ๒ คนก็เลือกป้าน ๒ จอก ถ้าจะดื่มกัน ๔ คนก็ควรเลือกป้านขนาด ๔ จอก
หากจะไม่เลือกขนาดด้วยจำนวนคนดื่มถ้าใช้ชงดื่มเอง ก็ให้ถามตัวเองว่าดื่มชามากน้อยแค่ไหน ปริมาณที่จะดื่มนั่นแหละคือขนาดของป้านที่ควรเลือก
คำถามต่อมาคือ ราคาใบชามันเกี่ยวกับขนาดป้านด้วยหรือ ป้านที่มีขนาดใหญ่ จะใช้ใบชามาก ส่วนป้านขนาดเล็กก็จะใช้ใบชาน้อย ถ้าชาราคาสูง เพื่อความประหยัดเบี้ยก็มักจะเลือกใช้ป้านเล็กขนาด๑-๓ จอก
โดยทั่วไปป้านที่ใช้งานง่ายๆก็อยู่ในขนาด ๔-๖ จอก เพราะขนาดใหญ่พอจะใส่ชา จะแคะกากชาก็ทำได้ง่ายจะดื่มคนเดียวก็หมด จะดื่มหลายคนก็แบ่งได้ แต่ถ้าจะเลือกป้านเพื่อชงชาชั้นดีดื่มเอง ขนาด ๔-๖ จอก ก็เป็นขนาดที่ใช้ได้แต่ถ้าจะประหยัดหน่อยก็เลือกป้านที่ย่อมลงมาเป็นขนาด ๑-๓ จอก
๓) ผิวพรรณและกลิ่นกาย
การเลือกป้านไว้ใช้งานให้มองหาป้านที่มีผิวเกลี้ยงเกลา พรรณสะอาด เนื้อจะหยาบจะละเอียดก็ได้ สีผิวจะคล้ำแดง เหลือง ม่วง ก็สุดแต่ความนิยมชมชอบส่วนบุคคล ไม่ควรเลือกป้านที่มีคราบดำ หรือป้านที่ดูเก่ามีดินที่ไม่ใช่เนื้อของป้านจับเกรอะกรังเพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่าคราบดำที่ว่าเป็นคราบชาที่เกิดจากการใช้งาน คราบน้ำมันยาขัดเกือก หรืออื่นๆที่เอามาแต่งแต้มเพื่อให้ดูเก่า หรือป้านนั้นผ่านอะไรมาบ้าง สิ่งที่ไม่ทราบเหล่านี้ที่อาจจะทำให้ป้านนั้นไม่เหมาะที่จะใช้ชงชา
กลิ่นกายของป้านอาจเป็นกลิ่นที่จะติดลงไปในน้ำชาที่ชงได้ บอกได้ยากว่ากลิ่นที่ติดป้านจะกำจัดให้หมดไปได้หรือไม่ป้านดินใหม่ที่เผาจนสุกด้วยความร้อนสูงและน้ำไม่ซึมผ่าน จะแทบไม่มีกลิ่นเลยกลิ่นกระดาษฟางหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ห่อป้านที่อาจติดมาบ้าง มักไม่ใช่ปัญหาสามารถกำจัดออกไปได้
หากเลือกป้านใหม่ไร้กลิ่นไม่ได้ ป้านที่จะเลิกไม่ควรมีกลิ่นที่กินไม่ได้เช่น กลิ่นเหม็น กลิ่นน้ำมัน กลิ่นน้ำยาเคมี
๔)ความเหมาะมือ
ป้านเป็นวัตถุที่ถูกหยิบฉวยในระหว่างใช้งาน เมื่อจะซื้อป้านจึงควรเลือกที่เหมาะกับมือของคนใช้ป้าน
จุดที่ถูกหยิบจับบ่อยในระหว่างการใช้งานคือ จุก และหู จุดที่ทำเป็นตุ้มกลมๆ บนฝาสำหรับใช้จับยึดหยิบฉวยเพื่อเคลื่อนยายฝา ขอเรียกจุดจับยึดนี้ว่า “จุก” ส่วนหู คือ ส่วนที่ยื่นจากตัวป้าน ใช้สำหรับหยิบจับตัวป้านขณะใช้งาน ป้องกันไม่ให้มือถูกความร้อนจากตัวป้านลวกมือขณะใช้งาน
จุกที่พบกันดาษดื่นมากที่สุดมักทำเป็นรูปทรงกลม แต่ก็มีที่ทำเป็นห่วง เป็นหูหรือรูปสัตว์ ไม่ว่าจุกจะมีรูปร่างอย่างไรจุกควรติดกับตัวฝาอย่างมั่นคงแข็งแรงไม่เปราะบางแตกหักง่าย
การจับจุกทำได้หลายแบบขึ้นกับขนาด และลักษณะของจุก และความถนัดจุกขนาดเล็กมักใช้วิธีคีบด้วยปลายนิ้ว ๒ หรือ ๓ นิ้ว จุกขนาดใหญ่มักจับด้วยนิ้วหลายนิ้วเพื่อความมั่นคง
การเลือกจุกให้ทดลองจับด้วยการจับที่ถนัดและเหมาะสม จุกที่ดีคือ จุกที่จับกระชับ ไม่ลื่นหลุดมือ และเมื่อปล่อยก็ไม่ควรเกี่ยวติดมือ ที่มักพบทั่วไปคือ จุกที่หยิบแล้วไม่ติดมือ ลื่นหลุดมือได้ง่าย หากซื้อหามาใช้งาน ไม่นานเราจะมีป้านที่มีแต่ตัวเพราะทำฝาแตกเพราะหลุดมือ
๕) การกักเก็บน้ำ
ป้านที่ใช้งานได้ต้องไม่แตกร้าวรั่ว การทดลองโดยวางป้านบนพื้นราบเติมน้ำลงในป้านจนเต็มเปี่ยม ตั้งไว้สักพักหากน้ำในป้านพร่องลงให้สงสัยไว้ก่อนว่ามีรอยรั่วร้าวที่ใดสักที่
อีกวิธีในการสำรวจหารอยร้าวรั่วคือ เอาป้านลงต้มในน้ำเดือด ถ้ามีจุดร้าวรั่วบริเวณนั้นจะมีฟองอากาศเล็กๆผุดขึ้นเป็นสาย
วิธีตรวจสอบการแตกร้าวที่มักทำกันคือ ใช้ฝาป้านเคาะกับตัวป้านแล้วฟังเสียง การเคาะที่ใช้จุดเปราะบางเคาะกันอาจทำให้แตกปิ่นได้ จุดเปราะบางเหล่านี้ได้แก่ ลิ้น หรือขอบฝา มารยาทที่ดีควรขออนุญาตเจ้าของป้านก่อนเคาะเพื่อหยั่งความเต็มใจของเจ้าของป้าน การเคาะป้านนอกจากอาจจะทำให้ป้านแตกปิ่นได้แล้ว ยังไม่สามารถตรวจสอบการรั่วซึมได้แน่นอนบางครั้งป้านที่ร้าวรั่วก็ยังคงมีเสียงใสกังวานดี
๖)การถ่ายเทน้ำ
หน้าที่ของป้านนอกจากจะต้องกักเก็บน้ำได้โดยไม่รั่วแล้วยังต้องถ่ายเทน้ำให้ไหลออกทางพวยได้โดยสะดวก เมื่อเอาน้ำเดือดเติมใส่ป้านจนเต็มปิดฝาและเทน้ำออก
การจับป้านเทให้น้ำไหลออกถ้าป้านขนาดใหญ่ควรจับ ๒ มือ โดยมือหนึ่งจับที่หูอีกมืดให้จับจุกเพื่อประคองไม่ให้ฝาหล่นขณะเทน้ำออกจากป้านในกรณีป้านขนาดเล็กอาจจะจับ ๒ มือเช่นป้านใหญ่หรือถ้าจะจับมือเดียวก็ได้โดยเอานิ้วชี้แตะไว้ที่จุกเพื่อประคองจุกระหว่างเท
การเทน้ำให้ดูว่าสามารถเทน้ำออกจากป้านได้ไหมหากรูอากาศที่ฝาอุดตัน หรือทางเดินน้ำในพวยอุดตัน จะเทน้ำไม่ออก น้ำที่เทออกจากป้านควรจะไหลได้คล่อง และไหลนิ่งเป็นสาย ไม่ติดขัด ไม่เลอะเทะไม่สำลักอากาศ ถ้าป้านที่มีลักษณะดังว่าก็สามารถใช้ชงชาได้แล้ว
ป้านบางใบช่างทำป้านทำฝาทำลิ้นได้สนิทกับตัวป้าน ขณะเทน้ำจะไหลออกเฉพาะทางรูพวยไม่ไหลออกทางปากป้านเลย ป้านที่มีลักษณะเช่นนี้มักมีราคาสูง เป็นงานโชว์ฝีมือเชิงช่าง แต่ไม่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับป้านที่เอาไว้พอชงชาได้
๘)วัสดุ เขียนเรื่องการเลือกป้านไป ๗ตอนเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่าเขียนแคบไปหน่อยเพราะมุ่งไปที่ป้านเนื้อดินเผาเท่านั้น ป้านชามีที่ทำด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น แก้ว เซรามิกและหิน ไม่ว่าวัสดุจะเป็นอะไรสิ่งสำคัญคือจะต้องทนน้ำเดือดได้และไม่เป็นอันตรายต่อการใช้บริโภค
ป้านดินเผา เก็บความร้อนได้ดี ชงชาที่ใช้อุณหภูมิสูง เรื่องทนน้ำเดือดโดยทั่วไปมักไม่ใช่ปัญหา สิ่งที่ควรเอาใจใส่ คือ ความเป็นพิษ โดยเฉพาะจากโลหะหนักซึ่งบอกได้ยากเพราะไม่อาจรู้ว่าช่างทำป้านใส่อะไรผสมลงไปในเนื้อดินบ้าง วิธีที่พอจะทดสอบได้เอง คือ การตรวจหาโลหะหนักโดยใช้ไข่ขาวมีวิธีดังนี้
(๑) ต้มน้ำให้เดือดส่วนที่หนึ่งเทใส่ป้านดินที่ต้องการทดสอบจนเต็มส่วนหนึ่ง น้ำเดือดอีกส่วนหนึ่งใส่ถ้วยสะอาดใช้ดื่มน้ำ ทิ้งน้ำทั้งสองส่วนไว้จนน้ำเย็นถึงอุณหภูมิห้อง
(๒) ต่อยไข่เอาไข่เฉพาะไข่ขาวมา๑ ส่วนผสมน้ำ ๙ ส่วน แบ่งมาใส่ในหลอดทดลองวิทยาศาสตร์ที่เป็นแก้ว๒ หลอดเท่าๆกัน หลอดละประมาณ ๕-๑๐ มิลลิลิตร (๑-๒ ช้อนชา) ใส่ใน หากไม่มีหลอดทดลองวิทยาศาสตร์ให้ใช้ภาชนะใสเหมือนๆกัน ๒ ชิ้น ภาชนะที่จะใช้ทุกชิ้นควรล้างสะอาดและแห้ง
(๓)ตวงน้ำเดือดที่เย็นแล้วจากป้าน ๒ มิลลิลิตร (ครึ่งช้อนชา)ใส่ลงในหลอดทดลองที่ใส่ไข่ขาวผสมน้ำหลอดหนึ่งและตวงน้ำเดือดที่เย็นแล้วจากถ้วยสะอาด ๒ มิลลิลิตร (ครึ่งช้อนชา)ใส่ลงในหลอดทดลองที่ใส่ไข่ขาวผสมน้ำอีกหลอดหนึ่ง แล้วเขย่าให้ผสมเบาๆ
(๔) น้ำเดือดที่เย็นแล้วจากถ้วยสะอาดไม่ควรมีโลหะหนัก เมื่อรวมกับน้ำผสมไข่ขาวแล้ว ควรจะใสไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ หากน้ำเดือดที่เย็นแล้วจากป้านไม่มีโลหะหนักเมื่อรวมกับน้ำผสมไข่ขาวควรใสเท่าๆกับตัวเปรียบเทียบแต่หากมีโลหะหนักจะไข่ขาวจะจับตัวกันเหมือนไข่ขาวที่ถูกต้มและน้ำจะขุ่นจนสังเกตได้
ป้านแก้ว ในกรณีของป้านที่เป็นแก้วสิ่งสำคัญคือต้องทนน้ำเดือดได้ จะรู้ได้ต่อเมื่อเทน้ำเดือดใส่ในป้านแก้ว หากใช้เฉพาะชงชาเขียวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ๘๐องศาเซลเซียส ก็ไม่เป็นที่ต้องกังวลนัก
ป้านหิน ที่ใช้งานมักทำจากหินแกรนิตซึ่งทนความร้อนได้ดีไม่มีปัญหาแตกร้าว แต่หากเป็นหินที่มีลักษณะผลึกเป็นแผ่นๆก็อาจจะแตกได้ ต้องอาศัยผู้ชำนาญเรื่องหินช่วยชี้แนะ
๘)วัสดุ เขียนเรื่องการเลือกป้านไป ๗ตอนเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่าเขียนแคบไปหน่อยเพราะมุ่งไปที่ป้านเนื้อดินเผาเท่านั้น ป้านชามีที่ทำด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น แก้ว เซรามิกและหิน ไม่ว่าวัสดุจะเป็นอะไรสิ่งสำคัญคือจะต้องทนน้ำเดือดได้และไม่เป็นอันตรายต่อการใช้บริโภค
ป้านดินเผา เก็บความร้อนได้ดี ชงชาที่ใช้อุณหภูมิสูง เรื่องทนน้ำเดือดโดยทั่วไปมักไม่ใช่ปัญหา สิ่งที่ควรเอาใจใส่ คือ ความเป็นพิษ โดยเฉพาะจากโลหะหนักซึ่งบอกได้ยากเพราะไม่อาจรู้ว่าช่างทำป้านใส่อะไรผสมลงไปในเนื้อดินบ้าง วิธีที่พอจะทดสอบได้เอง คือ การตรวจหาโลหะหนักโดยใช้ไข่ขาวมีวิธีดังนี้
(๑) ต้มน้ำให้เดือดส่วนที่หนึ่งเทใส่ป้านดินที่ต้องการทดสอบจนเต็มส่วนหนึ่ง น้ำเดือดอีกส่วนหนึ่งใส่ถ้วยสะอาดใช้ดื่มน้ำ ทิ้งน้ำทั้งสองส่วนไว้จนน้ำเย็นถึงอุณหภูมิห้อง
(๒) ต่อยไข่เอาไข่เฉพาะไข่ขาวมา๑ ส่วนผสมน้ำ ๙ ส่วน แบ่งมาใส่ในหลอดทดลองวิทยาศาสตร์ที่เป็นแก้ว๒ หลอดเท่าๆกัน หลอดละประมาณ ๕-๑๐ มิลลิลิตร (๑-๒ ช้อนชา) ใส่ใน หากไม่มีหลอดทดลองวิทยาศาสตร์ให้ใช้ภาชนะใสเหมือนๆกัน ๒ ชิ้น ภาชนะที่จะใช้ทุกชิ้นควรล้างสะอาดและแห้ง
(๓)ตวงน้ำเดือดที่เย็นแล้วจากป้าน ๒ มิลลิลิตร (ครึ่งช้อนชา)ใส่ลงในหลอดทดลองที่ใส่ไข่ขาวผสมน้ำหลอดหนึ่งและตวงน้ำเดือดที่เย็นแล้วจากถ้วยสะอาด ๒ มิลลิลิตร (ครึ่งช้อนชา)ใส่ลงในหลอดทดลองที่ใส่ไข่ขาวผสมน้ำอีกหลอดหนึ่ง แล้วเขย่าให้ผสมเบาๆ
(๔) น้ำเดือดที่เย็นแล้วจากถ้วยสะอาดไม่ควรมีโลหะหนัก เมื่อรวมกับน้ำผสมไข่ขาวแล้ว ควรจะใสไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราใช้เป็นตัวเปรียบเทียบ หากน้ำเดือดที่เย็นแล้วจากป้านไม่มีโลหะหนักเมื่อรวมกับน้ำผสมไข่ขาวควรใสเท่าๆกับตัวเปรียบเทียบแต่หากมีโลหะหนักจะไข่ขาวจะจับตัวกันเหมือนไข่ขาวที่ถูกต้มและน้ำจะขุ่นจนสังเกตได้
ป้านแก้ว ในกรณีของป้านที่เป็นแก้วสิ่งสำคัญคือต้องทนน้ำเดือดได้ จะรู้ได้ต่อเมื่อเทน้ำเดือดใส่ในป้านแก้ว หากใช้เฉพาะชงชาเขียวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า ๘๐องศาเซลเซียส ก็ไม่เป็นที่ต้องกังวลนัก
ป้านหิน ที่ใช้งานมักทำจากหินแกรนิตซึ่งทนความร้อนได้ดีไม่มีปัญหาแตกร้าว แต่หากเป็นหินที่มีลักษณะผลึกเป็นแผ่นๆก็อาจจะแตกได้ ต้องอาศัยผู้ชำนาญเรื่องหินช่วยชี้แนะ
No comments:
Post a Comment