การเตรียม matcha
โดย จงรักษ์ กิตติวรการ (ตี่)

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเตรียม matcha คือกระปุกแร่งชา ในภาพเป็นกระปุกสแตนเลส เมื่อเปิดฝาครอบออก ภายในจะมีเส้นลวดสแตนเลสสานกันเป็นตาข่ายตาถี่ เรียกว่า "แร่ง" ในภาพจะเห็นกรวดมนเกลี้ยงอยู่ ๓ ลูก
matcha เป็นชาเขียวที่ถูกป่นจนเป็นผงละเอียด ภาพที่เจนตา คือ ภาพในพิธีชาที่คนสวมชุดกิโมโนตักผง matcha จากกระปุกใส่ลงถ้วย แล้วใช้แปรงตี จนผงชาเข้าเป็นเนื้อเดียวกับน้ำร้อนสำเร็จเป็นน้ำชา แต่มีใครกี่คนที่รู้ัว่า ก่อน matcha จะมาเป็นผงชาในกระปุกชาพร้อมใช้ในพิธี จำเป็นต้องมีกระบวนการเตรียมไม่น้อย
matcha ในปัจจุบัน ซึ่งซื้อหากันมาจะเป็นชาป่นที่ถูกบรรจุในถุงปิดผนึงเรียบร้อย แม้จะเป็นชาที่ถูกป่นมาแล้ว แต่ด้วยเวลาที่อยู่ในถุงอาจทำให้ผงชาจับตัวกัน เมื่อเติมน้ำร้อนลงไปจะจับตัวกันเป็นก้อนๆ ตีให้กระจายตัวในน้ำร้อนไม่ได้ การเตรียมผงชาที่ว่า ก็คือ การทำให้ผงชากระจายตัวได้ดี เมื่อเติมน้ำร้อนแล้วสามารถตีให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่าย มีวิธีการดังนี้



ขั้นตอนแรกให้นำ ก้อนกรวด ๓ ลูกออกก่อน แล้วเทผง matcha ลงไปบนแร่ง

ใส่ก้อนกรวดไปบนผงชา

ปิดฝา แล้วเขย่าในแนวราบ (หมายความว่า ทิศทาง ซ้ายๆ-ขวาๆ ไม่ใช่เขย่าขึ้น-ลง) ก้อนกรวดภายในจะทำหน้าที่กดให้ผงชาผ่านแร่งลงไปสู่ก้นภาชนะด้านล่าง

เมื่อผงชาผ่านแร่งไปจนหมด ก็เปิดฝากระปุก และเอาชั้นแร่งออก จะเห็นผงชาที่ฟูเขียวอยู่ก้นภาชนะ ซึ่งเป็นผงชาพร้อมใช้งาน

แม้จะได้ผงชาพร้อมใช้งานแล้ว แต่การเตรียมไม่ได้จบเพียงนั้น สิ่งที่ต้องทำต่อ คือ การถ่ายผงชา ลงในกระปุกชาที่ใช้ในพิธีชา สำหรับ usui cha (ชาจาง) ภาชนะบรรจุมักมีปากกว้าง จึงใช้ช้อนไม้ไผ่ตัดผงชาที่แร่งแล้วใส่ลงกลางกระปุก ในขณะตักให้กลั้นลมหายใจ และให้เทผงชาจากช้อนลงกระปุกให้พูนเป็นภูเขาโดยมียอดอยู่กลางภาชนะ ซึ่งสมมติกันว่า นี่คือเขาพระสุเมรุ

กระปุกบรรจุ usui cha (ชาจาง) ที่มีไม้ตักชาพาดอยู่บนภาชนะ

ส่วน koi cha (ชาเข้ม) ก็มีวิธีการแร่งชาเช่นเดียวกัน หากต้องตวงปริมาณผงชาที่จะใช้ตามจำนวนแขกเสียก่อน จะได้แร่งชาได้พอใช้หมดพอดี

ถ่าย koi cha ลงกระปุก โดยใช้กรวยช่วยในการบรรจุ

ผงชาที่บรรจุใส่กระปุกเรียบร้อย

บรรจุ koi cha (ชาเข้ม) ที่มีไม้ตักชาพาดอยู่บนภาชนะ
No comments:
Post a Comment