13 October 2015

สำนักชา (Tea school)

สิ่งหนึ่งที่สำนักชาไม่สอน
คือ การชงชา
         
                           จอห์น ทูเม่

One thing that tea schools never teach
is making tea 

                         John Toomay
                        Urasenke and Cho-am Tea master

12 August 2015

Welcome

Welcome to Double Dogs Tea Room.




Visit our website at: http://doubledogstearoom.com 


01 July 2014

จุยเซียน

จุยเซียน
โดย เซ่ ฟัน คัก

จุยเซียนเป็นชาที่ดูสามัญเพราะมีขายอยู่เกลื่อนกลาด   ชื่อ “จุยเซียน” (水仙 หรือสุ่ยเซียน ในภาษาจีนกลาง) นั้นหมายถึงดอกจุยเซียน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า narcissus เพราะชาพันธุ์นี้มีกลิ่นหอมหวานละมุนกล้วยไม้ นมสด ชาพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในฮกเกี้ยนเหนือ (閩北 หมินเป่ย) แตกใบช้าเก็บใบได้หลังเทศกาลเช็งเม้ง ลักษณะใบแห้งดูแข็งแกร่ง มีพลังสีเขียวหนังกบแกมอำพัน

ลักษณะเด่นคือเป็นชาที่รสชาติกลมกล่อมมาก ดังที่มีคำกล่าวว่า “กลมกล่อมไม่อาจเกินจุยเซียน  หอมไม่อาจข้ามเน็กกุ่ย” (醇不過水仙,香不過肉桂。)  จุยเซียนที่ปลูกในบริเวณเขตเขาอู๋อี้ (武夷山)จะแฝงรส”น้ำแร่บริสุทธิ์ที่ไหลผ่านโขดหิน” ที่ภาษาจีนเรียกว่า เหยียนหยุ่น   (巖韻)  ชาที่มีคุณภาพยอดเยี่ยมเมื่อชงด้วยวิธีกังฮูแต๊น้ำที่สาม และสี่ ให้ความหอมหวานชัดเจนที่สุดแม้ชงถึงน้ำที่เจ็ดความหอมหวานก็ยังคงอยู่


Shui Xian
by   Cesphancaque

Shui Xian is seemed to be the most common tea in Thaimarket. The name of the cultivar, Shui Xian, is referred to narcissus flower,as its round, sweet, milky, orchidaceous fragrance as that of the flower.  The cultivar is originated in the northernFujian, so called min pei (閩北). This cultivar is of late foliateand thus it is plucked in the late spring. The leaf of Shui Xian is yellowishgreen and rather hard.


The distinct character is the cultivar is the roundness ofits taste. None could be rounder than Shui Xian, as none could surpass the perfumeof Rou Gui. Shui Xian grown in the area of Wu Yi mountain will obtain anspecial mineral touch, as the taste of rocky mineral water. Shui Xian of goodquality, when brewed with Gong Fu Cha method, will fully reveal its characterin the 3rd and 4th infusion, but the sweet fragrancecould be tasted till the 7th infusion.


shui xian cultivar
ชาพันธุ์จุยเซียนshui xian cultivar ชาพันธุ์จุยเซียน

08 April 2014

บันทึกชา น้ำชงชา


ดย จงรักษ์ กิตติวรการ (ตี่)
ชามิอาจแยกจากน้ำได้ และจำต้องพึ่งน้ำในการแสดงออก  น้ำจึงเป็นส่วนหนึ่งที่คนชงชาให้ความสำคัญ  ตั้งแต่อดีตจีนได้สำรวจแหล่งน้ำต่างๆ พร้อมทำบันทึกและจัดอันดับแหล่งน้ำยอดเยี่ยมสำหรับชงชา

เมื่อกาลเวลาผันผ่าน อากาศ และสิ่งแวดล้อมแปรเปลี่ยน  การทำชาก็เปลี่ยนไปตายุคสมัยและรสนิยม  ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่าน้ำที่โบร่ำโบราณกล่าวยกย่องว่าดีนั้น ยังดีอยู่เช่นในอดีตหรือไม่ คุณภาพแหล่งน้ำสม่ำเสมอทั้งปีทุกปีด้วยหรือไม่ ไม่นับคนช่างสงสัยที่อาจถามว่าเอาน้ำในช่วงเวลาต่างๆกันของวันน้ำจะมีคุณภาพคงที่ด้วยไหม  กระทั่งการจะไปเอาน้ำจากแหล่งควรจะเลือกตักน้ำผิวๆ น้ำกลางๆ หรือน้ำที่อยู่ลึกลงไปดี

ในหน้าร้อนปีนี้ของบ้านเราที่น้ำมีน้อยน้ำทะเลหนุนสูง อีกทั้งเกิดกลุ่มอนุภาคจากการเผาไหม้ของขยะด้วยซึ่งมันคงตกกลับสู่ดินและไหลไปในแหล่งน้ำด้วย  น้ำไม่ว่าจากแหล่งน้ำธรรมชาติหรือจากผลิตภัณฑ์บรรจุขวด จะมีความคงที่สำหรับการชงชาด้วยหรือไม่ก็เป็นคำถามที่น่าสนใจไม่น้อย

หน้าร้อนทำให้น้ำเปลี่ยนไป
หรือว่าคนเปลี่ยนแปลง
ชงชาเปลี่ยนรส

oku mukashi (ocha no kanbayashi)


Oku mukashi (ocha no kanbayashi)

โดย จงรักษ์ กิตติวรการ (ตี่)

oku mukashi เป็นหนึ่งในมัตจะเกรดบน สามารถใช้ชงชาข้น (koicha) ได้   ผลิตโดย ocha no kanbayashi ผู้ผลิตชาเก่าแก่ในอุจิเกียวโต   จากการชงครั้งแรกก็ทิ้งห่างมาเนินนานจนแทบจำไม่ได้แล้วว่าชาตัวนี้เป็นอย่างไรเหมือนเพื่อนที่พลัดพรากกันไปนาน ต้องมาทำความรู้จักกันใหม่ 

ครั้งแรกจึงเริ่มลองจากน้ำร้อนไม่จัดนักราว๘๐ องศาเซลเซียส ตีให้ชาขึ้นฟองฟูนุ่ม ชาให้กลิ่นที่ฟุ้งกระจายไปทั่วปาก เนื้อชาฟูนุ่มตามฟองที่ตีเข้าไปดื่มได้เรียบลื่น แต่เนื้อชาไม่มันให้สัมผัส เมื่อความฟูเต็มปากเต็มคำหมดไป ชาเริ่มสงบลง ตกตะกอนเรียบขรึมและค่อยจางหายไป เป็นชาที่ดูรื่นเริงมีชีวิตชีวา

เมื่อทดลองชงอีกที ใช้น้ำร้อนจัดดู ชาปรากฏเป็นความแน่น ราบเรียบ เข้มขรึม สุภาพรสสม่ำเสมอราบเรียบ และทิ้งความขมบนลิ้นที่ละมุนมะไม เป็นชาที่ดูสงบนิ่ง และโดดเดี่ยว

แม้ว่าทั่วไปอารมณ์ที่สดใส ร่าเริงมีความสุข จะเป็นสิ่งที่ดูน่าปรารถนากว่า  แต่บางห่วงเวลาความหม่นและหมองที่เป็นอีกรสของชีวิตก็น่าสนใจไม่น้อย

หากมีโอกาสได้เอาชาตัวนี้มาชงอีก เราอาจจะได้เห็นบุคลิกอื่นๆในอารมณ์ที่แตกต่างไปของชาตัวนี้ก็เป็นได้ 

Narino (Horii Shichimei-en)


โดย จงรักษ์ กิตติวรการ (ตี่)
ในสมัยมุโรมาจิ (คศ. ๑๓๓๖-๑๕๗๓) เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นปกครองโดยโชกุนตระกูลอาชิคางะ ไร่ชาอูจิที่มีคุณภาพดีเลิศ
ได้รับคัดเลือกให้เป็นชาสำหรับตระกูลอาชิคางะมีอยู่ทั้งหมด ๗ แห่ง
ปัจจุบันเหลือเพียงแห่งเดียวที่ยังคงผลิตชาอยู่ได้แก่ โอคุ โนะ ยามะ  ปัจจุบัน ตระกูลโฮริอิ เป็นผู้จัดการดูแลการผลิตชา  จึงได้คัดเลือกชาโบราณที่มีหลายชนิดพันธุ์จากไร่โอคุ
โนะ ยามะ
ท้ายที่สุดจึงได้คัดเอาชาพันธุ์หนึ่งขึ้นมาเป็นชาที่ใช้สำหรับผลิตมัตจะโดยเฉพาะ
และได้ให้ชื่อสายพันธุ์นี้ว่า นาริโนะ


มัตจะที่ชื่อ
นาริโนะ นี้ จึงเป็นมัตจะที่ทำมาจากชาสายพันธุ์เดียว ปลูกในไร่เดียว คือ โอคุ โนะ ยามะ  ซึ่งมัตจะชาที่ผลิตในปัจจุบัน แม้จะเป็นผู้ผลิตชาในอุจิ
แต่ก็มักเป็นชาที่เอาชาแหล่งอื่นๆ มาผสมกับชาอุจิ
มัตจะที่เป็นชาอุจิล้วนๆ มีน้อยมาก และเป็นมัตจะที่มีราคาสูงเป็นพิเศษ

นาริโนะ
เป็นชาที่ต้องระวังเรื่องอุณหภูมิของน้ำเป็นพิเศษ เหมาะกับการใช้น้ำร้อนที่ไม่เดือดจัด
อุณหภูมิราว ๘๕-๙๐ องศาเซลเซียส ตีโดยไม่ต้องให้ขึ้นฟอง  จะได้ชาที่มีความนุ่มนวล มีรสที่ซับซ้อน  ไม่มีกลิ่นที่ฟุ้งจนโดดเด่น  หากชาที่ทำโดยตระกูลคัมบายาชิ ที่มีบุคลิกเคร่งขรึม
เปรียบได้เป็นนักรบที่หนักแน่น และขรึมแล้ว
นาริโนะ ก็เป็นชาที่แสดงความเป็นชาวราชสำนัก เมืองเฮอัน ที่ประณีต
พิถีพิถันโดยแท้

11 February 2014

ถ้วยชา kohiki

ถ้วยชา kohiki

โดย จงรักษ์ กิตติวรการ (ตี่)
ถ้วยชา เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการชงมัตจะ (ชาป่น) ถ้วยในภาพเป็นถ้วยที่เรียกว่า 粉引(kohiki) หรือ 粉吹(kofuki)คือ เคลือบแล้วผิวถ้วยดูเหมือนถูกโรยด้วยแป้ง  ถ้วยชาพวกนี้แรกทำในเกาหลี  ต่อมาญี่ปุ่นได้ลักตัวช่างทำเครื่องเคลือบจากเกาหลี ให้มาทำเครื่องเคลือบชนิดนี้ขึ้นในญี่ปุ่น  ลวดลายที่มักจะปรากฏ คือ ใบไผ่ (เห็นเป็นขีดสีดำบนผิวถ้วย) เกิดจากการนำใบไผ่แปะลงบนผิวถ้วยในขณะเผา ทำให้เกิดลวดลายใบไผ่ขึ้น

ทรงของถ้วยชาในภาพ เป็นทรงแบบเกาหลี


ภาพถ่ายระยะใกล้ให้เห็นผิวถ้วย และลายเคลือบที่คล้ายผงแป้ง